ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Political Science, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ จัดเป็น 1 ใน 4 คณะวิชาก่อตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลัย

การเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2475 เน้นการมุ่งฝึกฝนบุคลากรเพื่อเข้าสู่ระบบราชการเป็นหลัก อีกทั้งยังมีขอบเขตเนื้อหาที่จำกัด ทั้งนี้เนื่องมาจากเนื้อหาของวิชารัฐศาสตร์ค่อนข้างขัดแย้งต่อระบอบการปกครองในช่วงนั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 และเหตุการณ์สืบเนื่องอันส่งผลให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ. 2477 นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมของการจัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือ สมัยแรกเริ่มนั้น ในระดับชั้นปริญญาตรี การเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ได้แทรกปะปนอยู่กับเนื้อหาของหลักสูตรวิชา "ธรรมศาสตร์บัณฑิต" (ธ.บ.) ส่วนระดับชั้นปริญญาโทได้แยกหลักสูตรออกเป็น 3 สาขาอย่างชัดเจน ได้แก่ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ (ส่วนด้านการบัญชีนั้น ต่อมาได้มีหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชีซึ่งเทียบเท่าระดับปริญญาโท) ในขณะที่ระดับชั้นปริญญาเอกได้แยกเป็น 4 สาขา คือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการทูต

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2491 - 2492 เนื่องจากเกิดความผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรงจากการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมทั้งการที่สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วงนั้นที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจที่หวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกิดภาวะ "สงครามเย็น" ขึ้น ซึ่งได้ส่งผลให้ระบบราชการของไทยในยุคนั้นเติบโตอย่างมาก ที่สำคัญที่สุด คือ ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นว่าการเรียนการสอนในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตนั้นไม่สามารถผลิตบัณฑิตได้ตรงกับหน้าที่การงานของกระทรวงต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองที่อยู่ในรูปแบบ "ตลาดวิชา" ทำให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกไปมีอายุแตกต่างกันมาก อีกทั้งนักศึกษาจำนวนหนึ่งมีความตั้งใจที่จะออกไปมีบทบาททางสังคมและการเมือง แทนที่จะมุ่งรับราชการเพียงอย่างเดียว และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ไม่ได้มีการฝึกฝนอบรมอย่างเพียงพอที่จะผลิตบัณฑิตออกไปประกอบวิชาชีพบางประเภท เช่น ทนายความ เป็นต้น

จากผลกระทบดังกล่าว ทำให้คณะกรรมการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองสมัยนั้น เช่น ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม ศาตราจารย์ เดือน บุนนาค โดยมี พลเอก มังกร พรหมโยธี เป็นนายกกรรมการ ศาตราจารย์ วิจิตร ลุติตานนท์ เป็นเลขาธิการ เป็นต้น ได้ลงมติตรา "ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และ กำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492" ขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ ขึ้นพร้อมกันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492

ในสมัยแรกเริ่มของการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น คณบดีคนแรก คือ ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม และคณะกรรมการร่างหลักสูตรท่านอื่น ได้แก่ ศาสตราจารย์ เสริม วินิจฉัยกุล ศาสตราจารย์ ทวี แรงขำ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร หม่อมเจ้าลักษณเลิศ ชยางกูร ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ ดร.ยวด เลิศฤทธิ์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (The London School of Economics and Political Science: LSE) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นต้น รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิฟลูไบร์ท (Fulbright) ซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วงนั้นด้วย หลังจากนั้นการจัดการเรียนการสอนของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ได้แก่

ในปี พ.ศ. 2496 ได้มีการเปิดแผนกประจำ ซึ่งนักศึกษาจะอยู่กินและนอนที่มหาวิทยาลัยขึ้น โดยนักศึกษาจะได้รับการศึกษาด้านวิชาการและได้รับการอบรมด้านระเบียบวินัยเป็นอย่างดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการโดยตรงจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา จึงได้มีการเปิดแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาโท โดยทำการเรียนการสอนทั้งแบบภาษาอังกฤษและภาษาไทย (ซึ่งต่อมาแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับการยกฐานะเป็นคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และได้โอนย้ายไปเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2509)

พ.ศ. 2502 คณะรัฐศาสตร์ ได้มีมติให้จัดตั้งแผนกวิชาการทูตในระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรก ภายหลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาแล้วระยะหนึ่ง และต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2510 ได้มีการจัดตั้งแผนกวิชาบริหารรัฐกิจ และแผนกวิชารัฐศาสตร์ศึกษาในระดับปริญญาตรีเพิ่มเติม ซึ่งทำให้คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวม 4 สาขาวิชา คือ การปกครอง บริหารรัฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หรือแผนกการทูตเดิม) และปรัชญาการเมือง (หรือแผนกรัฐศาสตร์ศึกษาเดิม) ซึ่งต่อมาได้ยุบรวมเหลือ 3 สาขาวิชา คือ การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ การระหว่างประเทศ จนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา หลังจากยุคสงครามเย็นสิ้นสุดและเกิดกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษในระดับปริญญาโท ได้แก่

1. หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร (MPE) ซึ่งจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้ย้ายมาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต)

2. หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร (EPA) ซึ่งจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

3. หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาคภาษาอังกฤษ (MIR) ซึ่งจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้มีแนวคิดและเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์และเปิดการเรียนการสอนในปีครั้งแรก พ.ศ. 2545 หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2552 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับผู้บริหาร (MPE) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาในด้านการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตควบรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ ภาคภาษาอังกฤษ (BMIR) ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่จัดการเรียนการสอนทางด้านรัฐศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษแห่งแรกในประเทศไทย โดยจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180